แผนพัฒนาท้องถิ่น ข้อบัญญัติต่างๆ
เอกสารดาวน์โหลด
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่1)
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า35-36
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า37-48
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า50
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า51-52
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า53
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า54
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า55
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า56-59
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า60
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)(ส่วนที่2)หน้า61-62
- ประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565)
แผนพัฒนาสี่ปี
-
ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
-
-
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
-
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และให้เสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานในระยะที่ 2 ของรัฐบาล (ปี 2558 – 2559)และกรอบการปฏิรูปในระยะที่ 3 (ปี 2560 เป็นต้นไป)
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ได้แก่ 1. คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกรอบการปฏิรูป เพื่อจัดทำร่างกรอบ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีและ (2)คณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ เพื่อจัดทำร่างแผนปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกรอบการปฏิรูป ได้ดำเนินการยกร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยได้มีการนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่มาจากหลายภาคส่วน ได้แก่ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการเมือง และนักวิชาการรวมถึงได้พิจารณานำข้อคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ และความคิดเห็นจากภาคประชาชนมาเป็นข้อมูลในการยกร่างยุทธศาสตร์ชาติด้วย และได้นำเสนอร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ในการดำเนินการขั้นต่อไป คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจะนำเสนอร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและจะได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนที่จะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์ชาติมาใช้เป็นกรอบในการกำหนดทิศทางในการบริหารประเทศภายในเดือนตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2564 )นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ จะได้นำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี มาถ่ายทอดลงสู่แผนปฏิบัติการระดับกระทรวงและแผนพัฒนารายสาขา ในระหว่างที่กลไกการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2560
2. สาระสำคัญ
2.1 สภาพแวดล้อม
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วและหลายมิติ ทำให้ภูมิทัศน์ของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดโอกาส ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และการเมืองของประเทศไทย และในขณะเดียวกันก็เป็นความเสี่ยง
และภัยคุกคามที่ต้องบริหารจัดการด้วยความยากลำบากมากขึ้น กระแสทุนนิยมและภัยคุกคามที่ต้องบริหารจัดการด้วยความยากลำบากมากขึ้น กระแสทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เศรษฐกิจของโลกได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยจากเดิมที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจในระบบ”เกษตรแบบพึ่งตนเอง” ต้องปรับตัวและเปลี่ยนไปเป็นระบบเศรษฐกิจที่ “พึ่งพาอุตสาหกรรมและการส่งออก” การพัฒนาในภาคเกษตรล่าช้ากว่าฐานการผลิตอื่นที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ตามลำดับจึงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมและระหว่างสังคมในเมืองและชนบทขยายวงกว้างขึ้น และปัญหาความยากจนกระจุกตัวในกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและในภาคชนบท ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของโลกได้ทำให้เกิดภัยคุกคามด้านอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น อาทิ การก่อการร้าย โรคระบาด เครือข่ายยาเสพติดข้ามชาติ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่รุนแรงขึ้น โดยที่การก่อการร้ายจะยังเป็นภัยคุกคามของโลก และอาชญากรรมข้ามชาติเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่เข้มข้นขึ้น การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของผู้คน สินค้าและบริการ เงินทุน และองค์ความรู้และเทคโนโลยีอย่างเสรีภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์เข้มข้นจะเอื้อให้สามารถประกอบอาชญากรรมในรูปแบบและช่องทางใหม่ๆที่แยบยลมากขึ้น สถานการณ์และแนวโน้มดังกล่าวบ่งชี้ว่าประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบการเตือนภัยและการบริหารความเสี่ยงที่ดีและประชาชนจะต้องได้รับความรู้ที่สามารถใช้วิจารณญาณได้ดีในสถานการณ์ที่ล่อแหลม
นอกจากนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ภูมิทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของโลกเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจสังคมอุตสาหกรรมมุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิทัล ประกอบกับในอนาคต 20 ปีข้างหน้าสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกมิติ เงื่อนไขภายนอกที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ได้แก่ กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเสี่ยงและท้าทายต่อการปรับตัวมากขึ้นจากการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และเทคโนโลยีและสินค้าและบริการ ขณะเดียวกันการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคนำไปสู่ความเชื่อมโยงทุกระบบ ในขณะที่ศูนย์รวมอำนาจทางเศรษฐกิจโลกเคลื่อนย้ายมาสู่เอเชียภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกซึ่งในช่วงระยะ 10 ปีข้างหน้าจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญหลายประการทั้งปัญหาต่อเนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจโลก ในช่วงปี 2551 – 2552 และวิกฤติการณ์ในกลุ่มประเทศยูโรโซนที่ทำให้ระดับหนี้สาธารณะในประเทศต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นความเสี่ยงต่อความยั่งยืนทางการคลัง ขณะที่จะมีผลพวกต่อเนื่องจากการดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความเสี่ยงให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่ รวมทั้งอาจจะมีความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ นอกจากนั้น การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าสู่จุดอิ่มตัวมากขึ้น ขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตของโลกเพิ่มขึ้นขนานใหญ่และเป็นวงกว้าง เช่น ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมยังไม่มีแนวโน้มการก่อตัวที่ชัดเจนแต่ก็มีแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ๆๆ ที่จะเป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว เศรษฐกิจโลกในช่วง 10 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 5.1
ในช่วง 5 ปีก่อนวิกฤตเศรษฐกิจโลก( 2546 – 2550 ) ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดโลกขยายตัวช้า แต่ประเทศต่างๆขยายกำลังการผลิตเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิต การแข่งขันในตลาดโลกจะมีความรุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันการลดลงของประชากรไทยในระยะ 10 – 15 ปีข้างหน้านี้ จะทำให้ขนาดของตลาดในประเทศขยายตัวช้าลง เงื่อนไขดังกล่าวเป็นความเสี่ยงสำหรับอนาคตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวหากประเทศไทยไม่เร่งปรับโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งให้สัมฤทธิ์ผล
ในด้านความมั่นคงของโลกก็กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากการปรับดุลอำนาจของสหรัฐฯ เพื่อพยายามคงบทบาทผู้นำโลกไว้และเพื่อคานอิทธิพลและบทบาทของจีนและรัสเซียที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชียและยุโรปนั้นน่าจะมีผลทำให้บรรยากาศด้านความมั่นคงของโลกในช่วงปี 2560 – ปี 2579 มีลักษณะผสมผสานกันทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยผลประโยชน์แห่งชาติทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดนโยบายของประเทศและกลุ่มประเทศ สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจะเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับอนาคตของโลกและประเทศไทยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นอัจฉริยะจะกระทบการดำรงชีวิตของคนและทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ รวมทั้งเกิดการเชื่อมต่อและการบรรจบกันของเทคโนโลยีก้าวหน้า อุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขที่กดดันให้ต้องมีความสอดคล้องกับแนวคิดสีเขียวด้วย เช่นกัน และในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีก็จะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาการลดลงของทรัพยากรต่างๆรวมทั้งน้ำมันซึ่งในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญกับภาวะที่ปริมาณลดลง ราคาแพงขึ้น และผลักดันให้มุ่งสู่การผลิตพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆรวมทั้งพืชพลังงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก
นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดและความเสี่ยงสำคัญจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยของโลกและภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงผันผวนและภาวะโลกร้อน ทั้งนี้โครงสร้างประชากรโลกที่เข้าสู่สังคมสูงวัยแม้จะส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แต่มีความเสี่ยงให้เกิดการแย่งชิงแรงงานและเงินทุน รวมทั้งมีแรงกดดันต่อการใช้จ่ายงบประมาณด้านสวัสดิการและสาธารณสุขเพิ่มขึ้นในหลายๆ ประเทศกลายเป็นความเสี่ยงด้านการคลังที่สำคัญ สำหรับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่ผันผวนก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นนั้นกดดันให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ การดำรงชีวิต การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในขณะที่ความพยายามในการกระจายความเจริญและการพัฒนาให้มีความทั่วถึงมากขึ้นประกอบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยการมีข้อกำหนดของรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การยึดถือหลักการบริหารจัดการที่ดีทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน การใช้ระบบประชาธิปไตย และการปฏิบัติให้เป็นไปตามสิทธิมนุษยชนจะเข้มข้นมากขึ้น
สำหรับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมภายในประเทศไทยนั้น ผลของการพัฒนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นตามลำดับโดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลาง มาตั้งแต่ปี 2531 และได้ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกลุ่มบนของกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ปี 2553 และล่าสุดในปี 2557 รายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 5,739 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปี ฐานการผลิตและ
บริการหลากหลายขึ้น ฐานการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมใหญ่ขึ้นมาก หลายสาขาการผลิตและบริการสามารถแข่งขันและมีส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงขึ้นและสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศในระดับสูง อาทิ กลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าเกษตร การท่องเที่ยว และบริการด้านสุขภาพ ฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็น 38.1 ล้านคนจากประชากรวัยแรงงาน 38.6 ล้านคน อัตราการว่างงานเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 1 ปัญหาความยากจนจึงลดลง ตามลำดับ จากร้อยละ 20.0 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 10.9 ในปี 2556 คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกระดับ โอกาสการได้รับการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ รวมถึงการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆมีความครอบคลุมและมีคุณภาพดีขึ้นตามลำดับ ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีความเป็นสากลมากขึ้น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติทั้งในรูปของทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อเป็นกลไกและช่องทางในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ของประเทศก็มีความก้าวหน้าไปมาก รวมทั้งกรอบความร่วมมือที่ช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับมาตรฐานต่างๆ ไปสู่ระดับสากลก็มีความคืบหน้ามากขึ้น
นอกจากนั้น ประสบการณ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในปี 2540 – 2541 ได้ส่งผลให้ภาครัฐและภาคเอกชนปรับตัวในการบริหารความเสี่ยงและสร้างภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ดี อันได้แก่ การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รับผิดชอบและตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบดีขึ้น มีการกำกับดูแลวินัยทางการเงินการคลังที่กำหนดกรอบของความยั่งยืนทางการคลังเป็นแนวปฏิบัติที่ดีขึ้นและฐานะการคลังมีความมั่นคงมากขึ้น และฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง มีการปรับปรุงในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบมากขึ้น สร้างความเป็นธรรมให้กับกลุ่มต่างๆ สามารถคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนจากการถูกเอารัดเอาเปรียบได้ดีขึ้น ช่วยสร้างบรรยากาศของการแข่งขันในตลาด และสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมีความสะดวกคล่องตัวมากขึ้น
แต่ประเทศไทยก็ยังมีจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างหลายด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จุดอ่อนสำคัญของประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างประชากรสูงอายุมากขึ้นตามลำดับ แต่คุณภาพคนโดยเฉลี่ยยังต่ำและการออมไม่เพียงพอ ประเทศขาดแคลนแรงงานทั้งในกลุ่มทักษะฝีมือสูงและกลุ่มทักษะฝีมือระดับล่าง ผลิตภาพแรงงานโดยเฉลี่ยยังต่ำ ทั้งระบบเศรษฐกิจมีผลิตภาพการผลิตรวมต่ำต้องอาศัยการเพิ่มปริมาณเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจมีสัดส่วนภาคการค้าระหว่างประเทศต่อขนาดของเศรษฐกิจสูงกว่าเศรษฐกิจภายในประเทศมาก จึงมีความอ่อนไหวและผันผวนตามปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ฐานการผลิตเกษตรและบริการมีผลิตภาพการผลิตต่ำ โดยที่การใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มมูลค่ายังมีน้อย การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ การวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างคุ้มค่า การพัฒนานวัตกรรมมีน้อย สำหรับการดำเนินงานและการบริหารจัดการภาครัฐก็ยังขาดการบูรณาการจึงสิ้นเปลืองงบประมาณ การดำเนินงานเพื่อการพัฒนามักขาดความต่อเนื่อง ประสิทธิภาพต่ำ ขาดความ โปร่งใส และขาดความรับผิดชอบ ขณะที่ปัญหาคอร์รัปชั่นมีเป็นวงกว้าง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์รวมทั้งการบริการจัดการน้ำยังไม่เป็นระบบโครงข่ายที่
สมบูรณ์และล่าช้า การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิผลและกฎระเบียบต่างๆ ล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง คนไทยยังมีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ไม่เคารพสิทธิผู้อื่นและไม่ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ขณะที่ความเหลื่อมล้ำและความแตกแยกในสังคมไทยยังเป็นปัญหาที่ท้าทายมาก รวมทั้งปัญหาในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เผชิญกับภาวะขยะล้นเมืองและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงในทุกด้าน
ทั้งนี้ปัจจัยและเงื่อนไขภายในประเทศที่จะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนาประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในระยะเวลา 15 – 20 ปีต่อจากนี้ไป จะมีนัยยะที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ กำลังคนในวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ย่อมส่งผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รูปแบบการใช้จ่าย การลงทุนและการออม ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ความมั่นคงทางสังคมและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันประเทศไทยก็เผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร ทั้งด้านแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติที่มีนัยยะต่อต้นทุนการผลิตและสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนั้นปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ก็มีนัยยะต่อการสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ในสังคม ข้อจำกัดต่อการยกระดับศักยภาพทุนมนุษย์ ความจำเป็นในการลงทุนเพื่อยกระดับบริการทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและการปฏิรูป กฎระเบียบและกฎหมายที่ทำให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำและที่สำคัญเงื่อนไขจำเป็นที่ต้องปรับตัวคือ การแก้ปัญหาความอ่อนแอของการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ทำให้จำเป็นต้องเร่งปฏิรูประบบราชการและการเมืองเพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดี
โครงสร้างที่เป็นจุดอ่อนและการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพและความโปร่งใสดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศไทยยิ่งต้องเผชิญกับแรงกดดันและความเสี่ยงมากขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่กระแสโลกาภิวัฒน์เข้มข้นขึ้นเป็นโลกไร้พรมแดนอย่างแท้จริง โดยที่การเคลื่อนย้ายของผู้คน สินค้าและบริการ เงินทุน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ เป็นไปอย่างเสรี ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้นโดยที่ประเทศต่างๆ เร่งผลักดันการเพิ่มผลิตภาพและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน ขณะเดียวกันความเสี่ยงและข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ ผันผวนรุนแรงต่อการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนก็เพิ่มขึ้น กฎเกณฑ์และกฎระเบียบของสังคมโลกจึงมีความเข้มงวดมากขึ้นทั้งในเรื่องการปลดปล่อยมลพิษ สิทธิมนุษยชนและกฎระเบียบทางการเงิน เป็นต้น เงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันให้ประเทศไทยต้องปรับตัวและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดมากขึ้น โดยที่การปรับตัวจะต้องหยั่งรากลึกลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างเพื่อแก้จุดอ่อนและควบคู่ไปกับการสร้างกลไกเชิงรุกให้จุดแข็งของประเทศเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งหากไม่สามารถแก้ปัญหาและปฏิรูปให้สัมฤทธิ์ผลได้ในระยะ 4 – 5 ปี ต่อจากนี้ไป ประเทศไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน รายได้เฉลี่ยของประชาชนจะไม่สามารถยกระดับให้ดีขึ้นได้ คุณภาพคนโดยเฉลี่ยจะยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำจะรุนแรงขึ้น รวมทั้งทรัพยากรจะร่อยหรอเสื่อมโทรมลงไปอีก และในที่สุดการพัฒนาประเทศจะไม่สามารถยั่งยืนไปได้ในระยะยาว
ทั้งนี้เงื่อนไขในปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในทุกมิติจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนาประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะในเชิงโครงสร้างทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ
ทั้งที่เป็นจุดแข็งและเป็นจุดอ่อนที่จะต้องเผชิญและผสมผสานกับปัจจัยภายนอกและก่อให้เกิดทั้งโอกาสและความเสี่ยงในหลากหลายมิติ การที่ประเทศไทยจะสามารถแสวงหาโอกาสจากการพัฒนาของโลกและรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันต้องวิเคราะห์ศักยภาพภายในประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นโดยที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปและปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบขนานใหญ่เพื่อให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมาะสมกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลก ยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็ว สามารถรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามแบบใหม่ได้ และสามารถอาศัยโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงบริบทโลกมาสร้างประโยชน์สุขให้กับคนในชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม การลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปรับเปลี่ยน ค่านิยมและวัฒนธรรมการดำรงชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ มีการจัดลำดับความสำคัญและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้นๆ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศและกรอบการทำงานของภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศนั้นเพื่อให้บรรลุซึ่งเป้าหมายการสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะให้ประเทศมีความมั่นคงในทุกด้าน คนในชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่งคั่ง และประเทศสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้การวิเคราะห์ให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัดรวมทั้งความเสี่ยงของประเทศ จะนำไปสู่การกำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคมไทยที่จะส่งผลให้เกิดการผนึกกำลังและระดมทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ การดำเนินการมีบูรณาการและเป็นเอกภาพภายใต้การมองภาพอนาคตของประเทศที่เป็นภาพเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมิได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศในระยะยาว การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารจึงให้ความสำคัญกับนโยบายพรรคการเมืองหรือนโยบายของรัฐบาลซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ทำให้การดำเนินนโยบายขาดความต่อเนื่อง ถือเป็นการสูญเสียโอกาส และสิ้นเปลืองทรัพยากรของประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยให้มีเป้าหมายการพัฒนาในระยะยาว และเพื่อเป็นการกำหนดให้ฝ่ายบริหารมีความรับผิดชอบที่จะต้องขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันและเป็นเอกภาพ ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมี “ยุทธศาสตร์” ซึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเทศไทยต้องปฏิรูปและปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบขนานใหญ่ เพื่อให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมาะสมกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลก ยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็ว สามารถรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามแบบใหม่ได้ และสามารถอาศัยโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงบริบทโลกมาสร้างประโยชน์สุขให้กับคนในชาติได้จะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย
ของประเทศ และทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศให้สอดคล้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ ของบริบทโลก และบริบทการพัฒนาภายในประเทศ
การกำหนดให้มี “ยุทธศาสตร์ชาติ” เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในระยะยาว พร้อมกับการปฏิรูปและการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารราชการแผ่นดินในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังจะช่วยยกระดับคุณภาพของประเทศไทยในทุกภาคส่วนและนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นหรือบรรเทาความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาความขัดแย้งในสังคม รวมถึงสามารถรับมือกับภัยคุกคามและบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาบทบาทสำคัญในเวทีโลก สามารถดำรงรักษาความเป็นชาติที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และคนไทยในประเทศมีความอยู่ดีมีสุขอย่างถ้วนหน้ากัน
สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติซึ่งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติกำลังดำเนินการยกร่างอยู่ในขณะนี้นั้นจะประกอบด้วย วิสัยทัศน์และเป้าหมายของชาติ ที่คนไทยทุกคนต้องการบรรลุร่วมกัน รวมทั้งนโยบายแห่งชาติและมาตรการเฉพาะซึ่งเป็นแนวทาง ทิศทาง และวิธีการที่ทุกองค์กรและคนไทยทุกคนต้องมุ่งดำเนินการไปพร้อมกันอย่างประสานสอดคล้อง เพื่อให้บรรลุซึ่งสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องการ คือ “ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในทุกสาขาของกำลังอำนาจแห่งชาติ อันได้แก่ การเมืองภายในประเทศ การเมืองต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.2 วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์” ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติวา “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวจะต้องสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ การดำรงอยู่อย่างมั่นคง ยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติ การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกัน ด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีไม่เป็นภาระของโลกและสามารถเกื้อกูลประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า
ความมั่นคง
- การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคลและมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
- ประเทศ มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล
- สังคม มีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน มีความเข้มแข็ง ครอบครัว มีความอบอุ่น
- ประชาชน มีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคง พอเพียงกับการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
- ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงานและน้ำ
ความมั่งคั่ง
- ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศรายได้สูงความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
- เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่งการผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ มีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมีพลัง
- ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือ เครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืน
- การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์
- การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคมโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
- มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาในทุกระดับอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน
- ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม ยึดถือและปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
อนาคตประเทศไทย ปี 2579 :
เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสถาบันหลักของชาติดำรงอยู่อย่างมั่นคงเป็นจุดยึดเหนี่ยวของสังคม มีความสามัคคีของคนในชาติ มีความสงบและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในทุกพื้นที่ และมีระดับรายได้ในกลุ่มประเทศรายได้สูง มีความเป็นธรรมในสังคมและความเหลื่อมล้ำลดลงในทุกมิติ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคและโลก
ระบบเศรษฐกิจมีความเป็นชาติการค้าบนฐานการขยายตัวของการค้าส่ง ค้าปลีกและเศรษฐกิจดิจิทัลที่เข้มข้นขึ้น มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพ กระจายฐานการผลิตและบริการไปในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง มีเสถียรภาพ แข่งขันบนฐานการพัฒนานวัตกรรม และมีฐานการผลิต บริการ และลงทุนที่เชื่อมโยงในอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่การมีรายได้สูงภายในปี 2579 และเข้าสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดย
· ภาคเกษตร เป็นฐานการผลิต bio – bases ที่สำคัญ เป็นฐานการผลิตอาหารที่มั่นคงและปลอดภัย และเป็นฐานการผลิตที่มีผลิตภาพการผลิตสูง มีระบบบริหารจัดการที่ดีด้านประมง
· ภาคอุตสาหกรรม ฐานอุตสาหกรรมเดิมมีศักยภาพสูงขึ้น มีอุตสาหกรรมอนาคตที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นฐานรายได้ใหม่ โดยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า และการลงทุนในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน เช่น ศูนย์การผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนและศูนย์ทดสอบและวิจัยพัฒนารถยนต์และชิ้นส่วนของเอเชีย ศูนย์กลางการผลิตพลังงาน /วัสดุชีวภาพของภูมิภาคอาเซียน ศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นต้น
· ภาคบริการ ธุรกิจบริการเดิมได้รับการพัฒนายกระดับคุณภาพและศักยภาพให้สูงขึ้น เช่น การขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเลและส่งเสริมธุรกิจบริการอนาคตให้เป็นฐานรายได้ใหม่ โดยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนและการให้บริการของภูมิภาคอาเซียน เช่น ศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาคอาเซียน เมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวและบริการของอาเซียน ศูนย์บริการทางการเงิน การศึกษานานาชาติ และบริการด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น
· วิสาหกิจและการดำเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมเข้มแข็ง เป็นฐานการผลิตและบริการที่สำคัญของประเทศคนไทยในอนาคต มีศักยภาพในการร่วมกันพัฒนาประเทศ สามารถปรับตัวรองรับบริบทการพัฒนาในอนาคต มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีทักษะในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มีจิตสำนึกวัฒนธรรมที่ดีงาน รู้คุณค่าความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบ เป็นรากฐานที่มั่นคงของชุมชนสังคม รักชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำน้อย อัตราความยากจนต่ำ มีการกระจายโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรการสร้างฐานอาชีพ บริการทางสังคมที่มีคุณภาพ และกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง ไม่คอร์รัปชั่น โดยที่ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวอยู่ดีมีสุขเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสีเขียว ระดับการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ มีพื้นที่สีเขียวใหญ่ขึ้น ประชาชนมีพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพ ทันสมัย รับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้และประชาชนมีส่วนร่วม กระจายอำนาจและมีการกำหนดภารกิจที่เหมาะสมระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น
-
ยุทธศาสตร์ชาติ
ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์และทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์นั้น จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะยาวและกำหนดแนวทางการพัฒนาของทุกภาคส่วนให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในระยะยาว เพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลาอย่างต่อเนื่องและมีการบูรณาการ และสร้างความเข้าใจถึงอนาคตของประเทศไทยร่วมกัน และเกิดการรวมพลังของทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งประชาชน เอกชน ประชาสังคม ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อการสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติและบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือคติพจน์ประจำชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปีต่อจากนี้ไป
จะประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6.ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564 )
กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 12 จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ ทำให้ การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และ กรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน “ของประเทศ
เป้าหมาย
- การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
- เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) และรายได้ ประชาชาติต่อหัว (GNP Per Capita) ณ สิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 317 ,051 บาท ( 9,325 ดอลลาร์ สรอ.) และ 301,199 บาท (8,859 ดอลล่าร์ สรอ. ) ต่อคนต่อปี
- ผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำว่าเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี
- การลงทุนรวมขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 8.0 (การขยายตัวของการ ลงทุนภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0 และการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวไม่ต่ำกว่า เฉลี่ยร้อยละ 7.5 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี )
- การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
- ประชาชนทุกช่วงวัยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (socio Economic Security ) และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การศึกษาและการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาคุณภาพ
- สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งเป็นฐานรากที่เอื้อต่อการพัฒนาคน
- การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
(1)การกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
(2)บริการทางสังคมมีคุณภาพและมีการกระจายอย่างทั่วถึง
- การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(1) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
(2) ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(4) เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(5)มีการบริหารจัดการน้ำให้สมดุลระหว่างการอุปสงค์และอุปาทานของน้ำ
- การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
(1) การบริหารงานภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วม
(2)ขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น
(3)มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม
แนวทางการพัฒนา
- การยกระดับศักยภาพการแข่งขันและการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
- การส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนา พัฒนาสภาวะแวดล้อมของการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ทั้งด้าน การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ด้านบุคลากรวิจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการบริหารจัดการ รวมทั้ง สนับสนุนและผลักดันให้ผู้ประกอบการมีบทบาทหลักด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนผลักดันงานวิจัยและพัฒนาให้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงทั้งเชิงพาณิชย์และสาธารณะโดยให้ความคุ้นครองทรัพย์สินทางปัญญา
- การพัฒนาผลิตภาพแรงงาน สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนากำลังคนและแรงงาน ให้มีทักษะความรู้และสมรรถะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและรองรับการเปิดเสรีของประชาคม อาเซียน โดยยกระดับและพัฒนาสมรรถนะแรงงานไทยด้วยเทคโนโลยี เร่งรัดให้แรงงานทั้งระบบมีการเรียนรู้ ขั้นพื้นฐานเพื่อสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้สนับสนุนให้แรงงานและปัจจัยการผลิตมีความยืดหยุ่นใน การเคลื่อนย้ายระหว่างสาขาการผลิตและระหว่างพื้นที่การผลิตเพื่อให้แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายไปสู่สาขา การผลิตที่มีผลิตภาพการผลิตสูงสุดและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและบริการจัดทำกรอบ คุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงานให้เป็นมาตรฐานที่เชื่อมโยงกันเพื่อยกระดับทักษะของแรงงานไทย
- การส่งเสริมผู้ประกอบการที่เข้มแข็งและพาณิชย์ดิจิตอล พัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจท่ามกลางการดำเนินนโยบายและมาตรการการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เพิ่มสัดส่วน ความเป็นเจ้า
ของของคนไทยและสนับสนุนให้มีการขยายตลาดที่มีแบรนด์สินค้าและช่องทางการตลาดที่เป็นของตนเองมากขึ้น ตลอดจนพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมและบริการเพื่อเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต บริการ และอุตสาหกรรมดิจิตอล
- การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เร่งลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม
ขนส่งเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ เศรษฐกิจไปประเทศและต่างประเทศ ทั้งการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายรถไฟให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ พัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานหลักของประเทศ พัฒนาท่าเรือที่มีศักยภาพให้เป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงระบบโทรคมนาคมของประเทศ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมที่เกิดจากลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อุตสาหกรรมซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วน อากาศยาน และอุตสาหกรรมระบบราง เป็นต้น เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในการเป็นฐาน การผลิตในภูมิภาคอาเซียน
- การปรับโครงสร้างการผลิต ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยการปรับเปลี่ยน
จากการผลิตสินค้าเกษตรชั้นปฐม เป็นสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าสูงมีคุณภาพและมาตรฐานสากล สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางด้านวัตถุดิบกับประเทศเพื่อนบ้านและลดระดับการผลิต สินค้าชั้นปฐมที่สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันลงสู่ระดับที่จำเป็นสำหรับการสร้างความมั่นคง ทางด้านอาหารและพลังงาน จัดระบบการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำทั้งด้านกายภาพและเศรษฐกิจ รวมทั้ง ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเกษตรจากกิจการเจ้าของคนเดียวเป็นการประกอบการในลักษณะสหกรณ์ ห้างหุ้นส่วน และบริษัทเพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด พิจารณาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และแหล่งน้ำ ใช้เทคโนโลยีการผลิตในระดับที่เหมาะสม ใช้กลไกตลาดในการป้องกันความเสี่ยง ตลอดจนส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ปรับโครงสร้างการผลิตภาพบริการโดยเร่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้เกิดความเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวทางทะเล ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมและทันสมัยทั้งการควบคุมกิจการต่างๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวและกำหนดและจัดทำกฎหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวของไทยสู่สากลและรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สามารถ แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะ
กลุ่มคลัสเตอร์ท่องเที่ยว โดยสนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงทั้งทางกายภาพ วิถีชีวิต/วัฒนธรรมท้องถิ่น และกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดจนส่งเสริมการสร้างความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ทั้งประเทศที่มีพรมแดนติดกันและประเทศที่มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวมทั้งระบบ พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมอนาคตเพื่อเป็นแหล่งการถ่ายทอดเทคโนโลยี เชื่อมโยงการผลิตกับอุตสาหกรรมที่เป็นฐานรายได้ประเทศและเป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและบริการทั้งในระดับอนุภูมิภาคและในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการขยายตัวด้านการค้า การลงทุน เช่น โลจิสติกส์ และพลังงาน รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนการลงทุนอื่นๆ เช่น ลดอุปสรรคการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ทั้งภาคการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ การเงิน และโลจิสติกส์ เชื่อมโยงเศรษฐกิจดิจิตอล ในการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และสนับสนุนการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจและสังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ การลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเชิงพาณิชย์ การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ บริษัทการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบและการตอบแทนสู่สังคมขององค์กร และกิจการเพื่อสังคม
- การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัยและการปฏิรูประบบเพื่อสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
- การพัฒนาศักยภาพคนในทุกช่วงวัยให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ โดยช่วงวัยเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้าน วัยเรียน วัยรุ่นให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นภายใต้บริบทสังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม วัยแรงงานให้มีการพัฒนายกระดับสมรรถนะฝีมือแรงงานเพื่อสร้างผลิตภาพเพิ่มให้กับประเทศ วัยผู้สูงอายุให้มีการทำงานที่เหมาะสมตามศักยภาพและประสบการณ์ มีรายได้ในการดำรงชีวิต มีการสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพเพื่อป้องกันหรือชะลอความทุพพลภาพ และโรคเรื้อรังต่างๆที่จะก่อให้เกิดภาระแก่ปัจเจกบุคคล ครอบครัว และระบบบริการสุขภาพ
- การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึงโดย
-
- ปฏิรูประบบบริหารจัดการทางการศึกษา โดยปรับระบบบริหารจัดการการศึกษาใหม่เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ (Accountability)
- ปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการ
ศึกษาโดยการจัดสรรงบประมาณตรงสู่ผู้เรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในการจัดการศึกษา
- พัฒนาคุณภพครูทั้งระบบ ตั้งแต่กระบวนการผลิต สรรหา และการคัดเลือกให้ได้คนดีคนเก่ง รวมทั้งระบบการประเมินและรับรองคุณภาพที่เน้นผลลัพธ์จากตัวผู้เรียน และ
- ปฏิรูประบบการเรียนรู้ โดยมุ่งจัดการเรียนรู้เพื่อ สร้างสมรรถนะกำลังคนทั้งระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ปรับหลักสูตรและผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาด การวิจัยและการใช้เทคโนโลยีและสื่อเพื่อการเรียนรู้
- การพัฒนาด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุทั้งในด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ยกระดับการบริหารจัดการระบบสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว โดยพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรด้านสาธารณสุข บูรณาการระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากร และสิ่งเสริมการอภิบาลระบบสุขภาพใน รูปแบบเครือข่ายที่มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน พัฒนาศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพ นานาชาติทั้งในด้านศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub ) ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ( Wellness Hub) ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Product Hub )และ ศูนย์กลางบริการวิชาการและ งานวิจัย (Academic Hub ) เพื่อนำรายได้กลับมาใช้ยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุขภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการให้ความสำคัญกับมิติสุขภาพในทุกนโยบายสาธารณะ(Health in All Policies) เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของทุกภาคส่วนตระหนักถึงผลกระทบของนโยบาย สาธารณะที่มีต่อสุขภาพของประชาชน
- การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำรงชีพในสังคมสูงวัย โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและความจำเป็นทางกายภาพให้เหมาะกับวัย และการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในด้านการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมให้เป็นต้นแบบของการดูแลผู้สูงอายุเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ
3.การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
3.1 การยกระดับรายได้และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ มุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพ แรงงาน โดยสนับสนุนให้แรงงานมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอย่างมีมาตรฐาน ปรับโครงสร้างค่าจ้างแรงงานให้ชัดเจนและสะท้อนทักษะฝีมือแรงงานอย่างแท้จริง เร่งผลักดันให้การใช้ระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงานในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้เพิ่มผลิตภาพทางการผลิตของเกษตรกรรายย่อย โดยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับพื้นที่ สร้างหลักประกันรายได้แทนการอุดหนุนด้านราคาสินค้าเกษตร ลดต้นทุนทางการเกษตรโดย สนับสนุนปัจจัยการผลิต
3.2 การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน และเน้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ระดับปัจเจก โดย
(1) พัฒนาระบบบริการสาธารณะให้มีคุณภาพและมีช่องทางการเข้าถึงอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะระบบ บริการสาธารณสุขและการศึกษาขั้นพื้นฐาน สวัสดิการสังคมและกระบวนการยุติธรรม
(2) สนับสนุนการจัดหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยและการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค กำหนดเป็นนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติและเมืองน่าอยู่ พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเมืองโดยดำเนินการร่วมกันกับภาคธุรกิจเอกชนและ
(3) การจัดรูปแบบสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นและเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย( Customized Welfare) ที่คำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน โดยมีแนวทางการรับภาระค่าใช้จ่ายร่วมกัน (Cost Sharing)
3.3 การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงทรัพยากร โดยปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยที่ไร้ที่ดินทำกินและยากจนได้มีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีสิทธิทำกินในที่ดิน ปฏิรูประบบการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและเข้าถึงพื้นที่เป้าหมายได้อย่างแท้จริงด้วยการผลักดัน พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ……..และบูรณาการแผนงานและงบประมาณร่วมกันของหน่วยงาน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม รวมทั้งปรับโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรม เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดกและภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3.4 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมโดยการเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งด้านกฎหมายให้แก่ประชาชน รวมทั้งการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ เช่น กฎหมายป่าชุมชน กฎหมายภาษีมรดก กฎหมายที่ดิน เป็นต้น
-
การรองรับการเชื่อมโยงภูมิภาคและความเป็นเมือง
4.1 การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของเมือง เตรียมความพร้อมรองรับความเป็นเมือง ทั้งด้านการบริหารจัดการด้านผังเมือง ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบการศึกษาและระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
มีคุณภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของคนในเมือง รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเมืองตามระดับการพัฒนา
- การพัฒนาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการบริการ โดยคำนึงถึงการเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (Green Logistics) สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน และปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ รวมทั้งปรับลดกระบวนงานด้านอำนวยความสะดวกทางการค้า ขนส่ง และโลจิสติกส์ให้มีความ สะดวกและมีประสิทธิภาพต่อภาคธุรกิจอย่างแท้จริง
- การส่งเสริมการลงทุน การค้าชายแดน และการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้ความสำคัญกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการค้าชายแดนเพื่อดึงดูดให้ นักลงทุนในภูมิภาคเข้ามาลงทุนในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษในพื้นที่ชายแดน โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว และการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ด้านการค้าชายแดนและการผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาคมากขึ้น
- การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.1 การรักษาทุนทางธรรมชาติเพื่อการเติบโตสีเขียว ใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ โดยคำนึงถึงขีดจำกัดและศักยภาพในการฟื้นตัว ปกป้องรักษาทรัพยากรป่าไม้ โดยสนธิกำลังของทุกภาคส่วน นำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารจัดการ บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม เพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจระยะยาว อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายชีวภาพ อย่างยั่งยืนและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งผลักดันแนวทางกากรประเมินมูลค่าของระบบนิเวศ และการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ จัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้ กระจายการถือครองที่ดิน จัดทำฐานข้อมูลที่ดิน เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า กำหนดเพดาน การถือครองที่ดิน เหมาะสม และกำหนดมาตรการป้องกันการถือครองที่ดินของคนต่างชาติ บริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดความ ยั่งยืน บูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ สร้างศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำ จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่ เช่น คณะกรรมการลุ่มน้ำ และองค์กรผู้ใช้น้ำ คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลดความขัดแย้งเชิงนโยบายระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว การประมงและวิถีชีวิตของชุมชน บริหารจัดการแร่โดยกำหนดปริมาณที่เหมาะสมในการนำแร่มาใช้ประโยชน์ คำนึงถึงความจำเป็นและมูลค่าใน อนาคต บังคับใช้มาตรการควบคุมผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ที่ก่อมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพ อนามัยของประชาชน
5.2 การส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างระบบหมุนเวียนวัสดุที่ใช้แล้ว ที่มีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนสู่ Zero Waste Society ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การปฏิรูประบบภาษีและ
ค่าธรรมเนียมเพื่อสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานและฉลากสินค้า เป็นต้น
5.3 การส่งเสริมการผลิต การลงทุน และการสร้างงานสีเขียว เพื่อยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสีเขียว ส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถปรับระบบสู่ห่วงโซ่อุปทานหรือห่วงโซ่คุณค่าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ( Green Supply Chain /Green Value Chain ) ส่งเสริมการค้า การเกษตรกรรมยั่งยืน รวมทั้งส่งเสิรมภาคบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพให้มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
5.4 การจัดการมลพิษและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยการเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย และของเสียอันตราย ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ดีให้กับประชาชน เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะเป็นลำดับแรก โดยส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เร่งกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดในพื้นที่วิกฤต สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม เน้นการแปรรูปเป็นพลังงานสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน โดยให้ความรู้แก่ประชาชน และการบังคับใช้กฎหมาย
5.5 การพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ผลักดันการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของอาเซียน หาแนวทางความร่วมมือกับอาเซียน และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในประเด็นการขนส่งข้ามพรมแดน การเคลื่อนย้ายแรงงาน การบริหารจัดการพลังงาน และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
5.6 การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับทุกภาคส่วน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบและปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบการเตือนภัย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการป้องกันน้ำท่วม วางแผนป้องกันเมืองและพื้นที่ชายฝั่ง พัฒนาเมืองที่สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience City.) การให้บริการของระบบนิเวศ ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการรับมือภัยพิบัติโดยสร้างแนวป้องกันตามธรรมชาติ และการจัดทำแผนธุรกิจต่อเนื่องรวมทั้ง การพัฒนาระบบการจัดการภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพพร้อมรองรับแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงในอนาคต
- การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
6.1 การสร้างความโปร่งใสในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติราชการ โดยให้มีช่องทางให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง เข้าตรวจสอบข้อมูลของภาคราชการและร้องเรียนได้ เช่น ข้อมูลการประกวดราคา จัดซื้อจัดจ้างโครงการของทางราชการ ข้อมูลการประมูลโครงการ ผู้ชนะการประมูลและราคาปิดประมูล ข้อมูลความก้าวหน้าตามกระบวนการยุติธรรม เช่น คดีที่ไม่ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล คดีทุจริตคอร์รัปชั่นและคดีที่ประชาชนให้ความสนใจในแต่ละยุคสมัย ฯลฯ
6.2 การพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความเป็นมืออาชีพและเพียงพอต่อการขับเคลื่อนภารกิจภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ระบบราชการเล็กกะทัดรัดแต่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูง
6.3 การสร้างรูปแบบการพัฒนา อปท. ให้เหมาะสม สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นแกนหลักในการประสานเครือข่ายและเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ ในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.4 การสร้างระบบตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ สร้างผลงานที่มีคุณภาพ รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ สามารถเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐมนตรีประกอบการตัดสินใจใน เชิงนโยบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามประเมินผลโครงการใหญ่ๆที่มีการใช้จ่ายงบประมาณเป็นจำนวนมาก และ เป็นโครงการที่มีผลกระทบในวงกว้าง
-
แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนฯกลุ่ม 1
(จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระบุรี)
วิสัยทัศน์ “ เป็นแหล่งฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สะอาด อุดมสมบูรณ์เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต การค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
เป้าประสงค์รวม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 ประกอบด้วยจังหวัดสระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและนนทบุรี มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สะอาด อุดมสมบูรณ์ เป็นฐานการผลิตและสนับสนุนความสามารถในการค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต
ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาระบบการเกษตรให้มีผลผลิตปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์และแนวทาง
-
- ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
เป้าประสงค์ มีการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
-
- อนามัยสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสักมีคุณภาพ ความสะอาดตามเกณฑ์มาตรฐาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมความร่วมมือชุมชนกับภาคอุตสาหกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์และแนวทาง
-
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นกับภาคอุตสาหกรรม
เป้าประสงค์ ทุกภาคส่วนมีจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ส่งเสริมบทบาทชุมชนและนักท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ
กลยุทธ์และแนวทาง
-
- การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก
เป้าประสงค์ มีการผลิต การค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
-
- การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ มีการท่องเที่ยวที่ให้ความรู้และสร้างพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวให้อยู่ในกรอบของการอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ฟื้นฟูคุณภาพระบบนิเวศของแม่น้ำเจ้าพระยา / ป่าสัก
กลยุทธ์และแนวทาง
- การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าประสงค์ ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำเจ้ายา/ป่าสัก มีคุณภาพความสะอาดตามเกณฑ์มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ.2557 – 2560 ) ฉบับทบทวน (รอบปี พ.ศ. 2560 )
วิสัยทัศน์จังหวัด “อยุธยานครประวัติศาสตร์ น่าเที่ยว น่าอยู่ ก้าวสู่สากล”
เป้าประสงค์รวม
-
- เป็นเมืองประวิติศาสตร์ที่น่าท่องเที่ยวระดับสากล
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- ภาคการผลิต ภาคการคาและบริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ สู่มาตรฐานสากล
- เป้าประสงค์ : เพิ่มพูนค่าด้านการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก
- กลยุทธ์
-
- ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ งานประเพณี และการประชาสัมพันธ์เชิงรุกด้านการท่องเที่ยว
- พัฒนาคุณภาพการให้บริการของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ให้ได้มาตรฐานสากล
- ส่งเสริมการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว ให้ได้มาตรฐานสากล
- ตัวชี้วัด
-
- ร้อยละของรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5 )
- ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5 )
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
- เป้าประสงค์ : ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีดุลภาพ
- กลยุทธ์
-
- สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เสี่ยงและได้รับผลกระทบ
- เพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดการสถานการณ์วิกฤต
- เพิ่มประสิทธิภาพกลไกทุกภาคส่วนในการป้องกันแก้ไขปัญหาสังคม
- ยกระดับคุณภาพชีวิตโดยกลไกการจัดระเบียบสังคม
- ตัวชี้วัด
-
- ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด (ระดับ 4 )
- ระดับความสำเร็จของการลดผลกระทบจากสาธารณภัยและอุบัติเหตุ (ระดับ 5 )
- ระดับความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติ (ระดับ 4 )
- ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการบริหารและแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน (ร้อยละ 85 )
ประเด็นยุทธศาสตร์ที 3 พัฒนาภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เป้าประสงค์ : สถานประกอบการมีศักยภาพพร้อมต่อการแข่งขันในตลาดโลกทุกระดับ
- กลยุทธ์
(1)ส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว
(2)ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย
(3)ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของชุมชนและสถานประกอบการ ให้ได้มาตรฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร / แปลง /ฟาร์มที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของจังหวัด(ร้อยละ 5 )
(2)ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด (ร้อยละ 2 )
(3)รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 )
1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
กรอบนโยบาย ทิศทางและแนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิสัยทัศน์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
“เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุนและตอบสนองนโยบายของรัฐบนพื้นฐานของความเข้าใจในปัญหาและศักยภาพของท้องถิ่น มีการบูรณาการบริหารจัดการในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ”
พันธกิจ
- จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
- จัดให้มีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต / สุขภาพ และการกีฬา
- จัดให้มีการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ
- จัดให้มีการจัดระเบียบชุมชน สังคมและความสงบเรียบร้อย
- จัดให้มีการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม
- จัดให้มีการส่งเสริมการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- จัดให้มีการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- จัดให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว
- จัดให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ความยั่งยืน
- จัดให้มีการพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
- จัดให้มีการกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ / การท่องเที่ยว
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
- มีโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ระบบสาธารณูปโภคทั่วถึง
- ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีการพัฒนาชุมชนและสังคม มีความเข้มแข็งและสงบเรียบร้อย
- มีการลงทุนและพาณิชยกรรม ในพื้นที่มากขึ้น
- มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมาชาติและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
- ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่ให้มากขึ้น
- มีมาตรฐานการบริหารและบริการการท่องเที่ยวในระดับสากล และมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น
- เพิ่มจุดมุ่งหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง
- การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
กรอบนโยบาย ทิศทางและแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีกรอบนโยบาย ทิศทางและแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายการพัฒนาแต่ละด้าน และภายใต้ยุทธศาสตร์แต่ละด้านจะประกอบด้วยแนวทางในการพัฒนา ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ พร้อมมีการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างอำเภอ
- การขยายเขตประปาหรือก่อสร้างประปาหมู่บ้าน
- การขยายเขตบริการโทรศัพท์สาธารณะให้ทั่วถึง
- การขยายเขตบริการไฟฟ้าให้ทั่วถึง
- การจำกัดน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ไม่ให้เกินมาตรฐาน มีการติดตั้งป้ายห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดหรือเมื่อรวมน้ำหนักรถกับน้ำหนักบรรทุก
- การจัดทำผังเมืองรวม
- พัฒนาระบบการชลประทานเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึง
- พัฒนาระบบจราจร
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
- การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
- การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
- การส่งเสริมและพัฒนาด้านสาธารณสุข
- ด้านสวัสดิการชุมชน
- การป้องกันยาเสพติด
- การสงเคราะห์ สตรี เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์
- การสงเคราะห์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากอุบัติเหตุทางถนน ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย และภัยจากการกระทำของมนุษย์
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
- ความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- การมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองท้องถิ่น
- การส่งเสริมประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนและพาณิชยกรรม
4.1 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผน
4.2 ด้านการส่งเสริมการลงทุน
4.3 ด้านการส่งเสริมการพาณิชย์
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 การจัดระบบบำบัดน้ำเสีย
5.3 การกำจัดและจัดการขยะ
5.4 การควบคุมมาตรฐานความดังของเสียง / ฝุ่นละออง
5.5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยธรรมชาติ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
6.1 การส่งเสริมคุณธรรมด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
6.2 การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และฟื้นฟูบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว
7.1 การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
7.2 การสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว
7.3 การบริหารจัดการการท่องเที่ยว
7.4 การรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
7.5 การป้องกันอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยว
7.6 การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7.7 การเพิ่มจำนวนและระยะเวลาการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ความยั่งยืน
8.1 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
8.2 การสร้างและพัฒนาการรวมกลุ่ม ( Cluster)
8.3 ส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่
8.4 สร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ
8.5 การส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจน
8.6 การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน / ท้องถิ่น
8.7 การส่งเสริม สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
9.1 การสร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐ
9.2 การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติ และการบริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance )
9.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการและการตรวจสอบควบคุม
การนำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ
กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการจัดทำโดยคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปเป็นแนวทางในการจัดยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเป็นกรอบแนวทางในการให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น และคณะอนุกรรมการประสานแผนระดับอำเภอที่ได้รับมองหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่
- จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการกระจายอำนาจฯประกาศกำหนด
- การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
- การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
- การจัดสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ
- การจัดการดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ
- การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือสหการ
- การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- การจัดตั้งดูแลตลาดกลาง
- การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณีและวัฒนธรมอันดีงาม
- การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
- ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- วิสัยทัศน์ “พัฒนาระบบบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานให้เพียงพอ การคมนาคมสะดวก สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ เศรษฐกิจดี มีถานที่พักผ่อนหย่อนใจ”
-
ยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย 5 ยุทธศาสตร์
-
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน / บริหารจัดการ /การส่งเสริมการลงทุน /พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี/นโยบายที่สำคัญของรัฐบาล
- เป้าประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค – สาธารณูปการอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
- เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ชุมชนมีความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยมีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
- ปัญหายาเสพติดน้อยลง
- เพื่ออนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีให้คงอยู่สืบไป
- เพื่อให้ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์รวมทั้งปราศจากมลภาวะ
- เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กรและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดความพอใจและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในท้องถิ่น
2.4 ตัวชี้วัด
-
- จำนวนโครงการที่ดำเนินการก่อสร้าง และปรับปรุง
- จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดีและได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
- ประชาชนมีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งปัญหายาเสพติดน้อยลง
- ประชาชนดำรงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
- จำนวนขยะภายในชุมชนมีจำนวนลดน้อยลง
- ร้อยละของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงาน
- จำนวนครั้งของบุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรม (คน /ปี)
2.5 ค่าเป้าหมาย
-
- เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีขึ้น
- เพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นทั้งทางกายและจิตใจ
- เพื่อให้ชุมชนมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น
- เพื่อรักษาวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ให้ยั่งยืนสืบไป
- เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
2.6 กลยุทธ์
-
- ให้มีการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
- ดำเนินการให้ประชาชนมีการศึกษา มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและเลิกยุ่งกับยาเสพติด
- จัดให้มีการดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนในการพัฒนาชุมชน
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
- จัดให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
- จุดยืนทางยุทธศาสตร์
จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัด จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการที่สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงได้เหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้ง จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ” เป็นเมืองน่าอยู่ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ มีภูมิคุ้มกันทางสังคมเพื่อให้ชุมชนมีรากฐานที่เข้มแข็ง”
- ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
ยุทธศาสตร์ในภาพรวมของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้งนั้นก็สัมพันธ์กัน เช่น ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานก็ มีการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเมื่อมีถนนที่มีคุณภาพดีแล้วก็ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต คือ ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้โดยสะดวกและปลอดภัยจากอุบัติบนท้องถนนที่เกิดจาก สภาพถนนชำรุด เป็นต้น
- การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
3.1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis /Demand ( Demand Analysis) / Global Demand และ Trend ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จุดแข็ง (Strength)
1.มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงสู่อำเภอใกล้เคียงและจังหวัดอื่นได้สะดวก
2.มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนมาก
3.พื้นที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และมีคลองที่สำคัญภายในตำบล คือ คลองแสง
คลองบ่อหลา และคลองบางผี ทำให้มีแหล่งน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตร เช่น การทำนา ได้ทั้งปี
จุดอ่อน (Weakness)
-
- การรวมกลุ่มอาชีพยังไม่มีความเข้มแข็ง
- โครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอในการบริการประชาชน ทั้งถนน ไฟฟ้า ประปา
- เกษตรกรโดยรวมยังมีปัญหาหนี้สินและความยากจน
- ขาดตลาดกลางจำหน่ายและกระจายสินค้าทางการเกษตร
- ผลผลิตมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอต้องอาศัยธรรมชาติหลัก
โอกาส (Opportunity)
1.นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรกรรม
2.ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี
3.พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพการผลิต ผลผลิตทางการเกษตร
4.การสร้างความเข้มแข็งตามระบบเศรษฐกิจพอเพียง
อุปสรรค (Threat)
1.ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ (ปัญหาอุทกภัย)
2.ราคาผลผลิตตกต่ำ
3.งบประมาณและรายได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการพัฒนาความเป็นอยู่
4.ภัยจากการใช้สารเคมีมีแนวโน้มรุนแรง
-
การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ผลการประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อม เพื่อให้การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้ง สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้งจึงทำการประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยแบ่งตามประเภทของปัญหา ดังนี้
1.ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา | สภาพปัญหา |
1.ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ | 1.ขาดการประกันราคาพืช |
2.ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง | 2.ไม่มีการควบคุมราคาปัจจัยของการผลิต |
3.ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ | 3.ไม่มีเงินทุนสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพ |
4.ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพอื่น | 4.ส่วนใหญ่แล้วไม่มีอาชีพอื่นทำประกอบนอกจากทำนาอย่างเดียว |
2.ปัญหาด้านสังคม
1.ความเข้มแข็งของชุมชน | 1.ราษฎรในพื้นที่ขาดความสามัคคีในการรวมกลุ่ม |
2.ยาเสพติด | 2.การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดไม่ทั่วถึง |
3.กีฬาและนันทนาการ | 3.ขาดผู้นำด้านการกีฬา |
3.ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.คมนาคม | 1.สภาพถนนเป็นหลุมเป็นบ่อในบางพื้นที่ |
2.เสียงตามสายมีปัญหามานาน | 2.ชาวบ้านไม่ได้ยินข่าวสารอย่างทั่วถึง |
3.น้ำประปาไหลไม่สะดวก | 3.ชาวบ้านใช้น้ำไม่เต็มที่ |
4.ปัญหาด้านแหล่งน้ำ
1.คลองบางแห่งตื้นเขิน | 1.น้ำไหลไม่สะดวก ผักตบชวาเยอะ เก็บน้ำได้ไม่มาก |
2.แหล่งน้ำบางแห่งไม่สะอาด | 2.เนื่องจากชาวบ้านใช้สารเคมีในการเกษตรเยอะทำให้สารเคมีไหลลงแหล่งน้ำ |
5.ปัญหาด้านสาธารณสุข
1.ป้องกันโรคติดต่อ | 1.ขาดความรู้ คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหา |
2.สุขภาพอนามัย | 2.ขาดความสนใจ ดูแลเอาใจใส่สุขภาพ |
3.การบริการสาธารณสุขมูลฐาน | 3. ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากรให้บริการอย่างทั่วถึง |
6.ปัญหาด้านการเมือง การบริหาร
1.การปกครองระบบประชาธิปไตย | 1.ขาดความรู้ ความสนใจในระบอบประชาธิปไตย |
2.ความสนใจในการมีส่วนร่วม | 2.ประชาชนขาดความสนใจการเข้าร่วมประชาคมและไม่ทราบถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมประชาคม |
การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ปีงบประมาณ 2557
ผลการพัฒนาตำบล | การประเมินผลเชิงปริมาณ | การประเมินผลเชิงคุณภาพ |
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน
โครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น -โครงการที่เกี่ยวกับระบบประปา -โครงการที่เกี่ยวกับคลองน้ำ
-โครงการที่เกี่ยวกับไฟฟ้า
-โครงการที่เกี่ยวกับรางระบายน้ำ
-โครงการที่เกี่ยวกับถนน -โครงการที่เกี่ยวกับต่อเติมศาลา |
จำนวน 15 โครงการ
จำนวน 3 โครงการ จำนวน 3 โครงการ
จำนวน 3 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 4 โครงการ จำนวน 1 โครงการ |
ประชาชนมีน้ำประปาใช้ ประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตร สะดวกขึ้น ประชาชนมีไฟฟ้าใช้และได้รับฟัง ข่าวสารจากหน่วยราชการมากขึ้น ทำให้การระบายน้ำตามคลองสะดวกขึ้น ทำให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้น ทำให้มีที่พักอาศัยสะดวกขึ้นกว่าเดิม |
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น
-โครงการที่เกี่ยวกับการป้องกันโรค
-โครงการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ -โครงการที่เกี่ยวกับอาหาร
-โครงการที่เกี่ยวกับกีฬาและสุขภาพ
-โครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา
-โครงการที่เกี่ยวกับเด็ก -โครงการที่เกี่ยวกับอาชีพและสินค้า |
จำนวน 15 โครงการ
จำนวน 3 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ จำนวน 2 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ จำนวน 2 โครงการ |
ประชาชนมีภูมิคุ้มกันโรคดีขึ้นและรู้วิธีในการบำบัดโรคและการป้องกันโรค ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้น ประชาชนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และรู้ว่าอาหารแต่ละอย่างมีสารอาหารประเภทไหนบ้าง ประชาชนมีร่างกายแข็งแรงขึ้นและรู้จักเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงจากยาเสพติด ประชาชนมีทุนการศึกษาและมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ประชาชนมีอาชีพติดตัวและมีสินค้าขายในชุมชน |
ผลการพัฒนาตำบล | การประเมินผลเชิงปริมาณ | การประเมินผลเชิงคุณภาพ |
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม/และรักษาความสงบเรียบร้อย แบ่งเป็น
-โครงการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง -โครงการที่เกี่ยวกับสาธารณภัย
-โครงการที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและกฎหมาย -โครงการที่เกี่ยวกับการขับขี่
-โครงการมีส่วนร่วมในการบริหาร อบต. |
จำนวน 11 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ จำนวน 4 โครงการ
จำนวน 4 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ |
เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นการป้องกันภัยจากธรรมชาติ และภัยจากบุคคล ประชาชนได้รับข้อมูลที่ทันสมัย และรู้กฎหมายมากขึ้น ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารพอสมควร ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารพอสมควร |
4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยวแบ่งเป็น
-โครงการที่เกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น -โครงการที่เกี่ยวกับการเกษตร |
จำนวน 7 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 6 โครงการ |
เป็นการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเกษตรและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง |
5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น
-โครงการที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ -โครงการที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอย |
จำนวน 4 โครงการ
จำนวน 3 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ |
ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เป็นพิษ และคลองไม่ตื้นเขิน |
ผลการพัฒนาตำบล | การประเมินผลเชิงปริมาณ | การประเมินผลเชิงคุณภาพ |
6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งเป็น
-โครงการที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนาและวันสำคัญของท้องถิ่นและของชาติ -โครงการที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดนตรี |
จำนวน 4 โครงการ
จำนวน 3 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ |
เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและให้ความสำคัญกับวันสำคัญต่างๆ ประชาชนให้ความสำคัญกับดนตรีไทยและสากลมากขึ้น |
7.ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี/นโยบายที่สำคัญของรัฐบาล
แบ่งเป็น -โครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา
-โครงการที่เกี่ยวกับการอบรม
-โครงการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือการแพทย์ -โครงการที่เกี่ยวกับค่าจัดซื้อเครื่องปรับอากาศ -โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนา บุคลากรและปรับปรุงสถานที่ -โครงการอินเตอร์เน็ตตำบล
-โครงการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ -โครงการให้บริการเคลื่อนที่แก่ประชาชน -โครงการที่เกี่ยวกับวัสดุดับเพลิง -โครงการปรับปรุงแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน -โครงการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน |
จำนวน 16 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ
จำนวน 3 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 2 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ จำนวน 1 โครงการ
จำนวน 1 โครงการ
|
. ทำให้เจ้าหน้าที่และประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นและมีงบประมาณใช้ในการศึกษา ทำให้เจ้าหน้าที่มีทักษะในการปฏิบัติเพิ่มขึ้น
ทำให้ประชาชนรู้จักใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น เป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้มีมากขึ้น
เป็นการลดความซ้ำซากในการปฏิบัติงาน |
1.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ปีงบประมาณ 2558
ผลการพัฒนาตำบล | การประเมินผลเชิงปริมาณ | การประเมินผลเชิงคุณภาพ |
1.การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-โครงการที่เกี่ยวกับจัดซื้อรถยนต์และรถกระเช้าซ่อมไฟฟ้า -โครงการที่เกี่ยวกับการก่อสร้างถนน คสล. ,ซ่อมผิวจราจร ,ปรับระดับถนน
-โครงการที่เกี่ยวกับซ่อมแซมระบบประปา -โครงการที่เกี่ยวกับซ่อมไฟทาง,ปรับภูมิทัศน์ -โครงการที่เกี่ยวกับขุดลอกคลองน้ำ,ทำความสะอาดรางระบายน้ำ
2.การดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต -โครงการที่เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์กีฬา,อุปกรณ์สื่อการเรียน การสอน
-โครงการที่เกี่ยวกับอาหาร
3.การดำเนินงานด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย -โครงการที่เกี่ยวกับการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน ,ทำป้ายประชาสัมพันธ์
4.การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – โครงการที่เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชในคลองชลประทานริมถนน/ทางสาธารณะ |
2 โครงการ
5 โครงการ
6 โครงการ
4 โครงการ
3 โครงการ
2 โครงการ
2 โครงการ
4 โครงการ
1 โครงการ |
-เพื่อให้ได้รถยนต์และรถกระเช้าที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
-ถนนหนทางมีสภาพดีขึ้น จากที่เคยเป็นหลุมเป็นบ่ ทำให้สามารถป้องกันอุบัติเหตุจากพื้นถนนที่ไม่เรียบได้อีกด้วย -ทำให้ระบบประปามีคุณภาพดีขึ้น
-ถนนหนทางมีความแสงสว่างมากขึ้น -คลองน้ำมีสภาพลึกมากขึ้น วัชพืชน้ำถูกกำจัดชั่วคราว เป็นประโยชน์ต่อการวิดน้ำเข้านา ,รางระบายน้ำสะอาดขึ้น
-มีวัสดุอุปกรณ์กีฬาไว้ใช้ในการออกกำลังกาย มีอุปกรณ์ไว้ใช้ในการเรียนการสอน -ได้อาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลัก อนามัย
-ได้ข้อมูล เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร
-คลองไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล และเป็นการกำจัดสิ่งกีดขวางการคมนาคมทางน้ำ |
ผลการพัฒนาตำบล | การประเมินผลเชิงปริมาณ | การประเมินผลเชิงคุณภาพ |
5.การดำเนินงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
-โครงการที่เกี่ยวกับงานมรดกโลก ,วันสำคัญ , งานรัฐ
6.การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี / นโยบายที่สำคัญของรัฐบาล -โครงการจัดซื้อวัดสุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในสำนักงาน และการปฏิบัติหน้าที่ |
1 โครงการ
34 โครงการ |
-ทางสำนักงานจะได้มีเครื่องมือที่พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ |
2.ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560
2.1 ผลที่ได้รับหรือผลที่สำคัญ
ตำบลบ้านแป้งพัฒนาขึ้นพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทางดีขึ้น ไม่เป็นหลุม เป็นบ่อ ,คลองน้ำแต่เดิมตื้นเขินและเต็มไปด้วยผักตบชวา ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีการขุดคลอกคลองเพื่อกำจัดวัชพืชเป็นระยะๆ เป็นต้น
2.2 ผลกระทบ
เช่น โครงการขุดลอกคลองน้ำเพื่อกำจัดผักตบชวา เวลาดำเนินการเสร็จก็ดูเป็นระเบียบ คลองไม่มีสิ่งกีดขวาง แต่พอระยะเวลาล่วงไปประมาณ 3 – 4 เดือนผักตบชวาก็เต็มคลองเหมือนเดิม เป็นโครงการที่จะต้องดำเนินการอยู่บ่อยๆ ทำให้เสียงบประมาณในส่วนนี้ไปทุกปี
3.สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการแก้ไข ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 – 2560
งบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินการพัฒนาตำบล, บางโครงการก็ไม่สามารถหาผู้รับจ้างได้เพราะไม่มีใครกล้าเสี่ยงที่จะมารับงาน เช่น โครงการทำประตูเหล็กเพื่อระบายน้ำของหมู่ที่ 2 เป็นต้น บางโครงการที่ชาวบ้านเสนอมาก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะว่าไปล่วงล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล